1.1   ชื่อสถานศึกษา โรงเรียนบ้านปากห้วยเดื่อ ตั้งอยู่ที่  บ้านปากห้วยเดื่อ หมู่ที่ 7 ตำบลคูเมือง อำเภอหนองบัวแดง   จังหวัดชัยภูมิ รหัสไปรษณีย์  36210             สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1   สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ1.2  เปิดสอนตั้งแต่ระดับ  อนุบาล 1 ถึงระดับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 61.3  มีเขตพื้นที่บริการ  1 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านปากห้วยเดื่อ
2.1   ผู้บริหารสถานศึกษาคนปัจจุบัน   ชื่อ   นางสาวมะลิวัลย์ รัศมีพรม   วุฒิทางการศึกษาระดับปริญญาโท  สาขา การบริหารการศึกษา ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านปากห้วยเดื่อ  ตั้งแต่วันที่  1 มีนาคม 2562 จนถึงปัจจุบัน2.2  ประวัติโรงเรียนบ้านปากห้วยเดื่อ        โรงเรียนบ้านปากห้วยเดื่อเดิมเปิดเป็นสาขาหนึ่งของโรงเรียนบ้านห้วยกนทา  เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2515 เปิดสอนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1    โดย    อส.สากล  ยศรุ่งเรืองและ อส.คำพันธ์ พรมวงค์ เป็นผู้สอน  ต่อมาเมื่อ  พ.ศ. 2516 ทางอำเภอหนองบัวแดงจึงได้ออกคำสั่งแต่งตั้งให้  นายเล็ก   พรมชัยธวัช  ครูตรีโรงเรียนบ้านห้วยกนทา มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่ และเมื่อวันที่   17 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 จึงได้เปิดเรียนเป็นเอกเทศ 
นตฺถิ  ปญฺญา สมาอาภา     หมายถึง ไม่มีแสงสว่างใด  เสมอด้วยปัญญา
คุณธรรม  นำความรู้  อยู่พอเพียง 
อยู่พอเพียง  เคียงคู่กีฬา
สีเขียว      คือ  สีแห่งความสดชื่นของพฤกษานานาพันธุ์ของท้องถิ่น  แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติและทรัพยากรอันเป็นปัจจัยส่งเสริมการเจริญเติบโตของการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้เจริญเติบโตงอกงามดั่งต้นไม้ที่กำลังโตวันโตคืนสีเหลือง   คือ  เปรียบดังสีของดอกราชพฤกษ์ที่สว่างสดใสเป็นที่ชื่นชมของมวลหมู่สรรพสัตว์รวมทั้งมนุษย์ทุกผู้ทุกนามที่ชื่นชม  คือ นักเรียนผู้เป็นผลผลิตของการจัดการศึกษาแล้วได้รับการพัฒนา หนึ่งนั้นดั่งพุทธศาสนาคือแสงสว่างแห่งปัญญา
        โรงเรียนบ้านปากห้วยเดื่อ  มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ให้เป็นมนุษย์ผู้มีความสมดุลทั้งทางร่างกาย ความรู้  คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทย  และเป็นพลเมืองโลก ยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตย  อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความรู้และทักษะพื้นฐาน  และสามารถอยู่ได้ในสังคม อย่างมีความสุขตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  รวมทั้งเจตคติที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต  โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ บนพื้นฐานความเชื่อที่ว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ
1. จัดการศึกษาให้นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ ดำรงความเป็น   ไทยบนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง2. ส่งเสริมบุคลากรในโรงเรียนให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ มีทักษะในการแสวงหาความรู้อย่างหลากหลายเพื่อนำมาใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ3. พัฒนาระบบบริหารจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพเกิดประสิทธิผล เพิ่มระดับคุณภาพมาตรฐานการศึกษาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง4. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ชุมชน และสังคม
  1. ด้านโรงเรียน  สภาพแวดล้อมในโรงเรียนได้รับการปรับปรุงให้ทันสมัย สะดวก สบาย สะอาด  ปลอดภายสวยงาม น่าดู น่าอยู่ น่าเรียน น่าภาคภูมิใจและส่งเสริมการเรียนรู้  จัดหาสื่อและเทคโนโลยีที่จำเป็นในการจัดการเรียนการสอนและการฝึกหัด การค้นคว้าที่ทันสมัยและพอเพียงกับการใช้งาน
  2. ด้านครูและบุคลากรทางการศึกษา  แต่งกายดี มีมารยาทงาม มีบุคลิกภาพดี  ได้รับการอบรมพัฒนา อ่านตำราและปฏิบัติธรรม จนมีความรู้ความสามารถได้มาตรฐาน  มีคุณธรรมรู้จักดีรู้จักชั่วและประพฤตปฏิบัติเป็นแบบอย่างที่ดี อารมณ์ดี จิตใจสูง น่ารัก น่าเคารพ น่าเลื่อมใสศรัทธา
  3. ด้านการเรียน  ในปีการศึกษา  2554 นักเรียนทุกคนจะต้องได้รับการดูแลช่วยเหลือให้ได้รับการพัฒนาทั้งร่างกาย ความรู้ความคิดและจิตใจ  เต็มตามศักยภาพ อบรม บอกสอน ฝึกหัด ให้มีความรู้พื้นฐานในการดำรงชีวิตรู้จักผิดชอบชั่วดีมีคุณธรรม เป็นเด็กดี อ่านออกเขียนได้คิดเลขเป็น รักการอ่าน ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ  กล้าแสดงออกทั้งการคิด การเขียน การพูด สามารถค้นคว้า ศึกษาหาความรู้จากธรรมชาติและภูมิปัญญาท้องถิ่นเช่นผู้รู้ ผู้เฒ่าผู้แก่ รวมทั้งศึกษาค้นคว้าหาความรู้จากสื่อต่าง ๆ เช่น  วิทยุ โทรทัศน์ อินเตอร์เน็ท วิดีโอ ซีดี ได้ด้วยตนเอง
  4. ด้านพลานามัย  นักเรียนที่จบหลักสูตรการศึกษา  จะต้องสามารถดูแลตัวเองให้เป็นผู้มีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่สมบูรณ์แข็งแรง 
  5. ด้านพฤติกรรม  นักเรียนต้องเป็นผู้ที่มีความประพฤติดี มีคุณธรรมจริยธรรม อันงดงาม ปฏิบัติตนตามระเบียบแบบแผน ขนบธรรมเนียมประเพณี  และวัฒนธรรมของสังคมในกรอบของการปกครองระบอบประชาธิปไตย สามารถอยู่รอดปลอดภัยจากภัยสังคมและสิ่งเสพติด
1.  นักเรียนทุกคนได้รับการพัฒนาตามศักยภาพให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาและอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข2.  บุคลากรได้รับการพัฒนาตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพ3.  โรงเรียนและชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา     4.   สถานศึกษาได้รับการพัฒนาให้น่าดู  น่าอยู่ น่าเรียน